หมวดหมู่: พาณิชย์

เสิร์ฟอัครราชทูต


พิชัย นำ'หมอนทอง' เสิร์ฟอัครราชทูต-อุปทูตจีน สร้างความเชื่อมั่นทุเรียนไทย

พิชัย พบอัครราชทูตจีน อุปทูตด้านเศรษฐกิจและการค้าจีน สร้างความเชื่อมั่นทุเรียนไทย นำ'หมอนทอง'ให้ชิม ได้รับคำชมอร่อยมาก พร้อมขอประสานจีนผ่อนปรนตรวจสอบสารปนเปื้อน เพิ่มความเร็วผ่านด่าน เพิ่มอุปกรณ์ เพิ่มคน รองรับฤดูกาลผลไม้ไทย เผยได้รับคำแนะนำ จัดเกรด คุมคุณภาพล้ง หากมีคุณภาพ ไม่พบสารต่อเนื่อง จะใช้วิธีสุ่มตรวจหรือตรวจน้อยลง พร้อมสั่งลุยโปรโมตทุเรียนไทยในจีน ทั้งออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ร่วมงานแฟร์ จัดกิจกรรมกระตุ้นบริโภค 

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 18 เม.ย.2568 ที่ผ่านมา ได้พบหารือกับนายอู๋ จื้ออู่ อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย และ น.ส.จาง เซียวเซียว อุปทูตด้านเศรษฐกิจและการค้าประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย โดยได้นำทุเรียนพันธุ์หมอนทอง

ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในจีน ไปให้ท่านเอกอัครทูตจีนได้ชิม ซึ่งได้รับคำชื่นชมว่าอร่อยมาก สมกับเป็นที่รับรู้กันว่าทุเรียนไทยมีรสชาติที่พิเศษ ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และอยากเห็นยอดการนำเข้าทุเรียนไทยไปจีนเติบโตต่อเนื่อง และอยากเห็นการนำเข้าเป็นไปอย่างราบรื่นตลอดฤดูกาลที่ทุเรียนออกมาก

 “ที่ผ่านมา ผมและนายอู๋ จื้ออู่ ได้พบหารือกันต่อเนื่อง ได้แลกเปลี่ยนสถานการณ์การส่งออกทุเรียนกันโดยตลอด เพื่อให้มั่นใจว่าการส่งออกทุเรียนในปีนี้ จะเป็นไปอย่างราบรื่น กระจายสินค้าเข้าสู่จีนได้รวดเร็ว และการไปครั้งนี้ ก็ได้แกะทุเรียนชิมกัน เพื่อสร้างความมั่นใจว่าทุเรียนไทย เป็นทุเรียนคุณภาพสูง รสชาติชั้นเยี่ยม

ผมได้เน้นย้ำให้ทางการจีนผ่อนปรนมาตรการตรวจสอบสารปนเปื้อน พร้อมทั้งขอให้เพิ่มความรวดเร็วในการตรวจผ่านด่าน เพิ่มเครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจ รวมทั้งเพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่ เพื่อรองรับปริมาณสินค้าที่จะส่งออกไปยังตลาดจีนในช่วงฤดูผลไม้”นายพิชัยกล่าว

ทั้งนี้ ในการหารือได้รับคำแนะนำจากทางการจีนว่า ควรจัดเกรด ควบคุมคุณภาพของล้งในพื้นที่ต่างๆ หากล้งใด มีสินค้าคุณภาพสูง ไม่ตรวจพบสารอย่างต่อเนื่อง ก็จะสามารถใช้วิธีการสุ่มตรวจบางส่วน หรือตรวจน้อยลง ซึ่งจะได้ประสานคำแนะนำนี้ไปยังกรมวิชาการเกษตรแล้ว

นายพิชัย กล่าวว่า ในปี 2567 ไทยส่งออกทุเรียนไปยังจีนคิดเป็นมูลค่าประมาณ 3,700 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 833,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วน 97.4% ของการส่งออกทุเรียนทั้งหมดของไทย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ

จึงได้จัดแคมเปญเพื่อสร้างภาพลักษณ์และส่งเสริมการขายทุเรียนไทยในตลาดจีน ด้วยกลยุทธ์ครบวงจร มุ่งสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพ ขยายช่องทางการค้าผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล และจัดกิจกรรมกระตุ้นการบริโภค หวังขยายตลาดในจีนได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้ประสานงานกับด่านศุลกากรและผู้นำเข้า อำนวยความสะดวกด้านการค้าผ่านการอัปเดตข้อมูลแบบเรียลไทม์ด้วย

สำหรับ การขยายตลาดออนไลน์ เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล ได้ร่วมมือกับอินฟลูเอนเซอร์ (KOLs) และไลฟ์สตรีมเมอร์ บน Douyin (TikTok), Weibo และ Xiaohongshu สร้างคอนเทนต์โปรโมตทุเรียนไทยให้เข้าถึงผู้บริโภคยุคใหม่ และจับมือแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำ เช่น ทีมอล (Tmall) และเจดีดอตคอม เปิดตัวแคมเปญ’Thai Fruit Golden Month Online’กำหนดวันที่ 5 เดือน 5 เป็นวันทุเรียนไทย สร้างจุดขายให้ตรงกับช่วงเวลาที่ดีที่สุดของผลผลิต

    นอกจากนี้ ได้ผลักดันยอดขายผ่านงานแสดงสินค้านานาชาติ โดยนำทุเรียนไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้านำเข้าในเมืองใหญ่ เช่น งานแสดงสินค้าอาเซียน-จีน และเชิญผู้นำเข้าจีนมาร่วมงานแสดงสินค้าในไทย เช่น THAIFEX เพื่อเปิดโอกาสทางธุรกิจโดยตรง และกระตุ้นการบริโภคผ่านกิจกรรมพิเศษ

โดยร้านอาหารไทยและคาเฟ่ในจีน นำเสนอเมนูพิเศษ เช่น ข้าวเหนียวทุเรียน ไอศกรีมหมอนทอง และเครื่องดื่มจากทุเรียน รวมถึงการกิจกรรม ‘ทุเรียนทัวร์’ ในซูเปอร์มาร์เก็ตและศูนย์การค้า พร้อมบุฟเฟ่ต์ทุเรียนในงานเทศกาลไทย

พิชัย เข้ม ติดตามสถานการณ์สินค้าเกษตร 'ข้าว-มัน-ผลไม้'ออกมาตรการช่วยเกษตรกรทันที พร้อมเจรจาทูตจีนปูทางระบายทุเรียนหลายแสนตัน

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมร่วมกับกรมการค้าภายในและสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า(สนค.) ว่า กระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตรอย่างใกล้ชิด พร้อมเดินหน้ามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในทุกมิติ ทั้งด้านการตลาด การลดต้นทุน และการรักษาเสถียรภาพราคา โดยเน้นพืชสำคัญ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และผลไม้

โดยเฉพาะข้าว ที่กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นเพื่อช่วยดึงราคาข้าวเปลือก ได้แก่ การช่วยเหลือข้าวนาปรัง ในการเปิดจุดรับซื้อข้าวเปลือกมีการจัดในหลายจังหวัด ได้แก่ จุดรับซื้อข้าวเปลือกนาปรัง เช่น อยุธยา สุพรรณบุรี และเชียงราย เพื่อเพิ่มช่องทางจำหน่ายและสร้างรายได้ที่เหมาะสมแก่เกษตรกร พร้อมจัดตลาดนัดข้าวเปลือกทั้งนาปรังและนาปี (ที่หมดฤดูกาลแล้ว)

โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 6,800 ราย ซึ่ง แบ่งเป็น ตลาดนัดข้าวเปลือกนาปรัง ใน 9 จังหวัด รวม 21 ครั้ง มีการซื้อขายในราคาสูงกว่าตลาด 100–200 บาท/ตัน รวมปริมาณซื้อขายกว่า 14,000 ตัน มูลค่าเกือบ 100 ล้านบาท ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือผู้ปลูกข้าวนาปรังที่ผ่าน นบข.มาแล้ว อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนเกษตรกร

ขณะที่ข้าวนาปีที่หมดฤดูกาลแล้ว กระทรวงฯ ได้จัดตลาดนัดข้าวแล้วใน 24 จังหวัด จำนวน 32 ครั้ง มียอดซื้อขายกว่า 422,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 254 ล้านบาท พร้อมดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขาย โดยให้เงินช่วยเหลือ 1,500 บาท/ตัน แก่ชาวนาที่มียุ้งฉาง มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 324,000 ราย รวมปริมาณข้าวที่รับฝากกว่า 2.5ล้านตัน นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่ม

โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย 3.5% จากอัตรา 4.5% เพื่อสนับสนุนสหกรณ์ที่รวบรวมข้าวไว้ในระบบ ซึ่งขณะนี้มีการรวบรวมผลผลิตแล้วกว่า 580,000 ตัน และมีการชดเชยดอกเบี้ยให้กับโรงสีที่เก็บสต็อกข้าวรวมสูงสุดกว่า 2.2 ล้านตัน สำหรับการสนับสนุนข้าวนาปีโดยตรง

รัฐบาลได้ดำเนินโครงการจ่ายเงินไร่ละ 1,000 บาท ให้กับเกษตรกรแล้วกว่า 4.5 ล้านครัวเรือน รวมเป็นเงินกว่า 36,000 ล้านบาท พร้อมเตรียมมาตรการลดต้นทุนการผลิตในฤดูถัดไป โดยเฉพาะการลดราคาปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืช

นายพิชัย กล่าวเพิ่มอีกว่า ในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมันสำปะหลัง กระทรวงพาณิชย์ได้ใช้มาตรการบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2567/68 โดยให้การสนับสนุนสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2567/68 วงเงินสินเชื่อ 143 ล้านบาท และมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ วงเงินสินเชื่อ 0.23 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีการบริหารจัดการการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) อัตราภาษี 0% และการนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วนต่อการรับซื้อโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วน

และมันสำปะหลัง มีการดำเนินการ ช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลังกว่า 720,000 ครัวเรือน โดยมาตรการเชื่อมโยงเปิดจุดรับซื้อได้เปิดจุดรับซื้อ 34 จุดใน 8 จังหวัด เพิ่มการใช้มันเส้นและกากมันภายในประเทศ 2.5 ล้านตันหัวมันสด (1 ล้านตันมันเส้น) และชดเชยดอกเบี้ย 3% สำหรับ การเก็บสต็อกระยะ 2-6เดือน รวมถึงส่งเสริมสินเชื่อเพื่อรวบรวมและสร้างมูลค่าเพิ่ม โดย ธ.ก.ส. คิดดอกเบี้ยเพียง 4.5%

ด้านสถานการณ์ผลไม้ โดยเฉพาะทุเรียน ซึ่งกำลังเข้าสู่ฤดูกาลผลผลิต กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินมาตรการบริหารจัดการผลไม้ในปี 2568รวม 7 มาตรการหลัก เช่น การตั้งชุดเฉพาะกิจเจรจาการค้ากับจีน การกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิต การรณรงค์บริโภคภายในประเทศผ่านห้างค้าปลีก ห้างท้องถิ่น รถโมบาย

รวมถึงสถานีโทรทัศน์ การสนับสนุนค่าบริหารจัดการผลไม้เพื่อการส่งออก การส่งเสริมการแปรรูปด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การสร้างอัตลักษณ์ GI และการเชื่อมโยงตลาดล่วงหน้าระหว่างผู้ซื้อกับกลุ่มเกษตรกร ทั้งนี้ คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะสามารถรองรับผลผลิตทุเรียนได้รวมกว่า 470,000 ตัน

ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์ยังเร่งติดตามสถานการณ์ส่งออกทุเรียนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะการเตรียมการพบปะหารือกับเอกอัครราชทูตจีนในเร็วๆ นี้ เพื่อเสริมความมั่นใจให้กับตลาดจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก พร้อมกันนี้ยังได้ประสานกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสารตกค้าง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจกระทบต่อภาพลักษณ์และศักยภาพในการส่งออกทุเรียนไทย

 

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!