หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 52


ผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 16

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee GBC) ไทย - กัมพูชา ครั้งที่ 16 ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ 

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          1. กห. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา (พลเอก เตีย เซย็ฮา) เป็นประธานร่วมการประชุม GBC ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 21 - 22 มีนาคม 2567 โดยที่ประชุมได้หารือและทบทวนผลการปฏิบัติร่วมตามบันทึกการประชุม GBC ครั้งที่ 15 ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายมีความยินดีที่ความสัมพันธ์และความร่วมมือของทั้งสองประเทศได้ก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น สามารถแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความมั่นคงตามชายแดนของทั้งสองประเทศทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่มีความสงบเรียบร้อย รวมทั้งพิจารณาประเด็นหารือ 2 ด้านที่สำคัญ ได้แก่ 

    

(1) ด้านความมั่นคงและการรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ชายแดน เช่น
ประเด็น   รายละเอียด

จุดผ่านแดนและการสัญจรข้ามแดน เช่น

 

1) สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศดำเนินการร่วมกันในการเปิดจุดผ่านแดนถาวร 3 จุด ได้แก่ (1) ช่องสายตะกู จังหวัดบุรีรัมย์ ไทยบ้านจุ๊บ โกกี จังหวัดอุดรมีชัย กัมพูชา (2) ช่องอานม้า จังหวัดอุบลราชธานี ไทยช่องอานเซะ จังหวัดพระวิหาร กัมพูชา (3) บ้านท่าเส้น จังหวัดตราด ไทยบ้านทมอดา จังหวัดโพธิสัต กัมพูชา

2) ยินดีกับพิธีเปิดใช้สะพานมิตรภาพไทย - กัมพูชา (บ้านหนองเอี่ยน - สตึงบท) ไปพลางก่อน ซึ่งทั้งสองฝ่ายยังคงการสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการสร้าง เช่น สำนักงานศุลกากร ถนน และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการเปิดจุดผ่านแดนถาวรบ้านหนองเอี่ยน จังหวัดสระแก้ว ไทย-สตึงบท จังหวัดบันเตียเมียนเจย กัมพูชาอย่างเป็นทางการ

3) สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ช่วยดำเนินการติดตามเร่งรัดการก่อสร้างถนน บริเวณเส้นทางข้ามแดน บ้านมะม่วง จังหวัดตราด ไทย - บ้านฉอระกา จังหวัดพระตะบอง กัมพูชา ซึ่งบริเวณดังกล่าวคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมของทั้งสองประเทศให้ความเห็นชอบต่อรายงานผลการสารวจเก็บรายละเอียดภูมิประเทศร่วมเรียบร้อยแล้ว

4) การสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการก่อสร้างสะพาน บริเวณจุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จังหวัดจันทบุรี ไทย - บ้านปรม จังหวัดไพลิน กัมพูชา
5)
เห็นชอบมิให้มีการปิดจุดผ่านแดนโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง การปิดจุดผ่านแดนใดๆ ก็ตามควรได้รับความเห็นชอบร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ และมีเหตุผลที่ชัดเจนในการปิดจุดผ่านแดน

ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติด เช่น

 

1) สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสริมสร้างกลไกที่มีอยู่ทั้งในพื้นที่ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศของทั้งสองประเทศ ให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมากขึ้น
2)
ไทยแสดงความพร้อมในการดำเนินโครงการเสริมสร้างและยกระดับความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการยุติแหล่งผลิตยาเสพติดและทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติดระหว่างประเทศ ซึ่งจัดขึ้นเพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ชายแดนของกัมพูชา และสนับสนุนโครงการอบรมเพิ่มศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านความมั่นคงตามแนวชายแดนในการป้องกันและปราบปรามการค้ายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดบันเตียเมียนเจย จังหวัดพระตะบองและจังหวัดอุดรมีชัย ของกัมพูชา

ด้านการป้องกันและปราบปรามการก่อ อาญชญากรรมอื่นๆ ในพื้นที่ชายแดน เช่น

 

1) สนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมรูปแบบต่างๆ เช่น การลักลอบการค้าอาวุธ การลักลอบขนยาเสพติดข้ามแดน การค้ามนุษย์ และการลักลอบตัดไม้ และการค้าสัตว์ป่าข้ามพรมแดน รวมทั้งการป้องกันและดูแลเหยื่อในภาคแรงงาน

2) ส่งเสริมความร่วมมือในด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการป้องกันและปราบปราม การลักลอบหลีกเลี่ยง ตลอดจนวิธีการอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายศุลกากรเป็นไปอย่างเหมาะสม การปลอมแปลงธนบัตร หรือนำมาใช้ซึ่งธนบัตรปลอมไม่ว่าสกุลใดๆ รวมทั้งการลักลอบค้าวัตถุโบราณ

3) เห็นชอบร่วมกันว่าปัญหาการข้ามแดนโดยผิดกฎหมายของแต่ละประเทศต้องได้รับการแก้ไขด้วยความเข้าใจในหลักมนุษยธรรมเป็นที่ยอมรับของสากลและอยู่บนพื้นฐานของการเคารพกฎหมาย และระเบียบของแต่ละประเทศ
4)
ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหา Call Center และเห็นพ้องที่จะแก้ไขปัญหาเครือข่าย การหลอกลวงทางไซเบอร์ โดยเพิ่มการเฝ้าระวังตามแนวชายแดน ทั้งการป้องกัน การลักลอบค้ายาเสพติด สินค้าเถื่อน และการกระทำผิดกฎหมายอื่นๆ และจะร่วมกันกวาดล้างผู้กระทำผิด พร้อมแสวงหาความร่วมมือที่ใกล้ชิดเพิ่มเติมระหว่างตำรวจไทยและกัมพูชาในการจับกุมผู้กระทำความผิด

ด้านการเก็บกู้ทุ่นระเบิด เช่น

 

1) รับทราบว่าการระบุพื้นที่เก็บกู้ทุ่นระเบิดไม่เกี่ยวข้องกับเขตประเทศและไม่สามารถนำมาใช้ในการเจรจาเพื่อสารวจและจัดทำหลักเขตแดนหรืออ้างสิทธิทางเขตแดนตามกฎหมายระหว่างประเทศได้

2) รับทราบว่าพื้นที่เร่งด่วนในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมที่ทั้งสองฝ่ายจะเสนอในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ไทย และจังหวัดบันเตียเมียนเจย กัมพูชา เพื่อเป็นการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมตามพันธกรณีของทั้งสองประเทศภายใต้อนุสัญญาห้าม ทุ่นระเบิดสังหารบุคคล รวมทั้งจัดตั้งกลไกความร่วมมือโดยมีการกำหนดบทบาท และความรับผิดชอบที่ชัดเจน เพื่อดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมอย่าง เป็นรูปธรรมบริเวณชายแดนไทยกัมพูชา และแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจาก การปฏิบัติงานเก็บกู้ทุ่นระเบิดดังกล่าว ทั้งนี้ จะต้องรายงานความคืบหน้าการปฏิบัติงานหรือประเด็นปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ให้คณะกรรมการชายแดนทั่วไปของแต่ละฝ่ายเพื่อให้พิจารณาและตัดสินใจ

ด้านการส่งเสริมความปลอดภัยทางทะเล เช่น   รับทราบและสนับสนุนกรอบความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือและกองทัพเรือกัมพูชา ในการเสริมสร้างมาตรการรักษาความมั่นคงทางทะเล การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทะเล ในการสกัดกั้นและปราบปรามการกระทำผิดทางทะเล และความร่วมมือในการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล รวมทั้งการเยี่ยมเยือนเมืองท่า และการประชุมหารือในระดับต่างๆ ระหว่างหน่วยทหารเรือของทั้งสองฝ่าย
ด้านการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงของไทย กับหน่วยทหารและตำรวจของกัมพูชาในพื้นที่ ชายแดน เช่น  

1) สนับสนุนการจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประสานงาน (HOTLINE) ระหว่างหน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่ชายแดนให้ครอบคลุมตลอดแนวชายแดนเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาตามแนวชายแดนในทุกระดับได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ
2)
สนับสนุนความร่วมมือด้านการแพทย์ทหารระหว่างกองทัพ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและกัมพูชาไปหารือร่วมกันให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป

3) ส่งเสริมโครงการหมู่บ้านเข้มแข็งคู่ขนานตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา ให้ครอบคลุมตลอดแนวชายแดน โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและกัมพูชานำไปหารือร่วมกันเพื่อดำเนินการต่อไป

(2) ความร่วมมือด้านอื่นๆ
ด้านการค้าบริเวณชายแดน  

1) สนับสนุนการกำหนดมาตรการเชื่อมโยงเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของไทยกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของกัมพูชา บริเวณจังหวัดสระแก้ว ไทย กับจังหวัดบันเตียเมียนเจย กัมพูชา และจังหวัดตราด ไทย กับจังหวัดเกาะกง กัมพูชา เพื่อผลประโยชน์ร่วมทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนของทั้งสองประเทศ

2) สนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายปรับปรุงกฎระเบียบทางด้านการค้าชายแดนให้เอื้ออำนวยและสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน

ด้านการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน โดยฝ่ายไทยได้เชิญฝ่ายกัมพูชาเข้าร่วมแผนปฏิบัติการยุทธการฟ้าใส (CLEAR Sky Strategy) ซึ่งแผนปฏิบัติการร่วมไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) - สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) เพื่อแก้ไขปัญหามลพิษจากหมอกควันข้ามแดนที่เกิดขึ้นต่อเนื่องรุนแรงส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ของประชาชนในวงกว้างโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคเหนือ รวมทั้งรับทราบตามที่ฝ่ายไทยได้เชิญผู้แทนจากเมียนมาและกัมพูชาเข้าร่วมในฐานะผู้สังเกตการณ์การประชุม เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนระหว่างไทยลาว ระหว่างวันที่ 26 - 27 มีนาคม 2567 จังหวัดเชียงใหม่
ด้านการบรรเทาสาธารณภัย   สนับสนุนให้มีการฝึกการบรรเทาสาธารณภัยร่วมในพื้นที่ชายแดน รวมถึงให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลประสบการณ์ระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตามแนวชายแดน
ความร่วมมือแก้ไขปัญหาที่อาจเป็นข้อขัดแย้งซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ ไทยกัมพูชา   ระหว่างสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไม่แล้วเสร็จ ทั้งสองฝ่ายยืนยันในเจตนารมณ์ที่จะไม่นาเอาปัญหาเขตแดนมากระทบกับความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองประเทศ และงดเว้นการกระทำใดๆ ที่จะละเมิดเขตแดนที่มีอยู่แล้ว หากมีปัญหาเกิดขึ้นตามแนวชายแดนทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อยุติปัญหาลงให้ได้ ในระดับพื้นที่อย่างสันติวิธีโดยเร็ว เพื่อป้องกันการขยายตัวลุกลามของปัญหา หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ให้แต่ละฝ่ายรายงานไปยังหน่วยเหนือของตน นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเน้นย้าให้เจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายมีการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

 

          ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกการประชุม GBC ไทย – กัมพูชา ครั้งที่ 16 และฝ่ายไทยรับเป็นเจ้าจัดการประชุม GBC ครั้งที่ 17 โดยกองบัญชาการกองทัพไทยเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการ และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะได้นำผลการประชุมไปดำเนินการตามความรับผิดชอบต่อไป 

          2. ประโยชน์ที่ไทยได้รับ: ไทยจะได้รับประโยชน์จากการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือทางทหารระหว่างกองทัพของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะทำให้หน่วยงานด้านความมั่นคงในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย - กัมพูชา สามารถแก้ไขปัญหากรณีที่มีปัญหาเกิดขึ้นตามบริเวณดังกล่าวให้ยุติลงในระดับพื้นที่ได้ โดยมิให้ลุกลามเป็นกรณีพิพาทระหว่างประเทศ 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 6 สิงหาคม 2567

 

 

8182

Click Donate Support Web 

TOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!