หมวดหมู่: มติ ครม.

Gov 17


ร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สศก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

          ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ สธ. เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 และ สคก. ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการออกกฎกระทรวงขึ้นใหม่เพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษ และโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2553 ในส่วนการโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ (โดยยกเลิก ข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ 10 และข้อ 11 ของกฎกระทรวงฉบับเดิม) นอกจากนี้ ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวยังคงมีหลักการเช่นเดียวกับกฎกระทรวงฉบับเดิม และแก้ไขเพิ่มเติมในรายละเอียดบางประการ เช่น กำหนดคำนิยามคำว่า “โฆษณา” และคำว่า “ใบอนุญาต” ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และขยายขอบเขตของผู้มีสิทธิขออนุญาตในการโฆษณา โดยไม่จำกัดเฉพาะสถานพยาบาลที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการยื่นคำขออนุญาตให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนปรับปรุงแบบคำขอและใบอนุญาตต่างๆ ให้เป็นไปตามที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุขกำหนด (เดิม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและ ยากำหนด) เป็นต้น ทั้งนี้ สธ. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว ประกอบกับคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดเห็นชอบด้วยแล้ว

          ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติดซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป จึงอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎหมายลำดับรองตามประมวลกฎหมายยาเสพติดภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่กฎหมายมีผลใช้บังคับ (ภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมาย ยาเสพติดออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการให้ร่างกฎกระทรวง ในเรื่องนี้มีผลใช้บังคับก่อนวันที่ 8 ธันวาคม 2567 

          ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

          1. สธ. ได้ยืนยันให้ดำเนินการร่างกฎกระทรวงการอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษา ผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

 

ประเด็น

 

รายละเอียด

1. ยกเลิกบทบัญญัติ

 

● ยกเลิกข้อ 6 ข้อ 7 ข้อ 8 ข้อ 10 และข้อ 11 แห่งกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตโฆษณายาเสพติดให้โทษ และโฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดให้โทษ .. 2553

2. คำนิยาม

 

● กำหนดนิยามคำว่าโฆษณาหมายความว่า การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชนเห็น ได้ยิน หรือทราบข้อความ ภาพ เสียง หรือเครื่องหมายที่ทำให้บุคคลทั่วไปสามารถเข้าใจความหมายได้

● กำหนดนิยามคำว่าใบอนุญาตหมายความว่า ใบอนุญาตโฆษณาเกี่ยวกับ การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

3. ผู้มีสิทธิขออนุญาต

 

● ผู้ที่จะประสงค์โฆษณาเกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด (ไม่จำกัดเฉพาะสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตให้เป็นสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด) ให้กระทำได้ในกรณีดังต่อไปนี้

        (1) การโฆษณาชื่อ คุณวุฒิ หรือความสามารถของผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล ยาเสพติดหรือสถานฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

        (2) การโฆษณาชื่อ ที่ตั้ง หรือกิจการของสถานพยาบาลยาเสพติดหรือสถานพื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

        (3) การโฆษณาเกี่ยวกับยา ผลิตภัณฑ์สมุนโทร เครื่องมือแพทย์ หรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ใช้เกี่ยวกับการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด

        (4) การโฆษณาแจ้งข่าวสารหรือแจ้งกิจกรรมในวันสำคัญ

4. การยื่นคำขอ

 

● การยื่นคำขอรับใบอนุญาตให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาต พร้อมด้วยข้อมูล เอกสารหรือหลักฐาน เช่น หลักฐานแสดงตัวของผู้ขอรับใบอนุญาตที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ และข้อความ เสียง ภาพ หรือภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงหรือภาพที่ประสงค์จะโฆษณา

● การยื่นคำขอ การแจ้ง และการติดต่อใดๆ และการออกเอกสารหลักฐานต่างๆ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยหากมีเหตุ ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการดังกล่าวได้ ให้ดำเนินการ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด สธ. หรือให้ยื่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งท้องที่นั้นตั้งอยู่ หรือสถานที่อื่น ตามที่ปลัด สธ. กำหนด

● แบบคำขอและใบอนุญาตให้เป็นไปตามที่ปลัด สธ. กำหนด

5. การพิจารณาคำขออนุญาต

 

● กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานไม่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้อนุญาต (เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา) แจ้งให้ผู้ขออนุญาตแก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด โดยหากผู้ขออนุญาตไม่แก้ไขเพิ่มเติมภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป และให้ผู้อนุญาตจำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ

● กรณีที่คำขอรับใบอนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้อนุญาตพิจารณาและออกใบอนุญาตให้ภายใน 30 วัน โดยให้แจ้งผลการพิจารณา ให้ผู้ขออนุญาตทราบภายใน 7 วัน นับแต่วันที่พิจารณาแล้วเสร็จ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) 16 กรกฎาคม 2567

 

 

7535

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!