หมวดหมู่: บริษัทจดทะเบียน

4424 SRT Roctec


การรถไฟแห่งประเทศไทย (SRT) และ ROCTEC ลงนามสัญญาสำคัญโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

          การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือกับบริษัท ร็อคเทค โกลบอล จำกัด (มหาชน) (ROCTEC) สำหรับโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ร่วมกับพันธมิตรในกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ROCTEC ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และมีผลงานในระบบ ICT สำหรับการรถไฟในประเทศฮ่องกง จะร่วมมือกับพันธมิตรในกลุ่มกิจการร่วมค้าในการออกแบบ และติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกความเร็วสูง (High-speed fibre optic) ทั่วระบบรางของ รฟท. โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของระบบรถไฟ การดำเนินงาน การบริหารจัดการ และการให้บริการแก่ผู้โดยสาร พร้อมทั้งวางรากฐานสำหรับการพัฒนาและความร่วมมือระยะยาวในอนาคต

          นายเว่ย แซม แลม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ร็อคเทค โกลบอล จำกัด (มหาชน) (“ROCTEC”) เปิดเผยว่า โครงการนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร เสริมความสามารถในการควบคุมขบวนรถไฟ และลดต้นทุนในการดำเนินงาน “พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบรางดิจิทัลของประเทศไทย โครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้จะช่วยให้ รฟท. ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รองรับการขยายเครือข่ายในอนาคต และสามารถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟความเร็วสูงได้อย่างไร้รอยต่อ โครงการนี้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับประเทศ และจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ” โดยโครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี

          โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคมมีวัตถุประสงค์ในการบูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานระบบรางอัจฉริยะใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้างโครงข่ายหลักของระบบโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณ เช่น ระบบมัลติเพล็กซ์แบบความยาวคลื่นหนาแน่น (Dense Wavelength Division Multiplexing: DWDM), เครือข่าย IP/MPLS, ระบบ IP-Backbone, ระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่าย IP (IP Telephony), ระบบโทรศัพท์ควบคุมขบวนรถไฟ และการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง ส่วนที่สอง มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ โดยมีการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงประมาณ 3,000 กิโลเมตร ครอบคลุมเส้นทางหลักของ รฟท. รวมถึงอาคารและสำนักงานต่างๆ พร้อมด้วยระบบ DWDM เพื่อเพิ่มแบนด์วิธและยกระดับประสิทธิภาพการสื่อสาร ขอบเขตของโครงการยังครอบคลุมการติดตั้งระบบ IP Backbone และระบบ Wi-Fi เพื่อรองรับการสื่อสารโทรศัพท์ควบคุมขบวนรถไฟและกล้องวงจรปิด (CCTV), ระบบโทรศัพท์ผ่าน VoIP และ IP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และโครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องข้อมูลและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ นอกจากนี้ จะมีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operations Centre) เพื่อการตรวจสอบระบบแบบรวมศูนย์ และบริหารจัดการระบบอย่างมีประสิทธิภาพ

 

 

4424

Click Donate Support Web 

PTG 720x100

MTI 720x100

Banner GPF720x100 PXTOA 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

SME720x100 2024

CKPower 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100pxAXA 720 x100

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!